1.เกาหลีเหนือ (จำนวนประชากร 25,778,816 คน)
แม้ว่าในโลกโซเชียลจะเคยมีข่าวลือในเชิงตลกขบขันว่า เกาหลีเหนือปลอดโควิด-19 เพราะยิงทิ้งผู้ติดเชื้อรายแรกไปเรียบร้อยแล้ว แต่เชื่อว่านั่นเป็นเพียงมุกตลกเท่านั้น โดยเมื่อวันที่ 26 ก.ค. สื่อท้องถิ่นของเกาหลีเหนือรายงานว่า พบ "ผู้ต้องสงสัย" ติดโควิด-19 รายแรกของประเทศ ในพื้นที่เมืองแกซอง ทางตอนใต้ แต่ต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีเหนือได้ออกมายืนยันผลการตรวจแล้วว่า ชายต้องสงสัยคนนั้นไม่ได้เป็นโรคโควิด-19 โดยในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านกับจีน เกาหลีเหนือประกาศปิดพรมแดนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. และยังไม่เคยผ่อนปรนมาตรการแม้แต่วันเดียว หากชาวต่างชาติจะเดินทางเข้าประเทศจะต้องเจอมาตรการกักตัวที่ยาวนาน 1-2 เดือน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงจากประเทศต้นทาง
2.เติร์กเมนิสถาน (จำนวนประชากร 6,031,200 คน)
เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศในแถบเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน อิหร่านและอัฟกานิสถาน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ล้วนแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง โดยรัฐบาลเติร์กเมนิสถานสั่งปิดพรมแดนเมื่อกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา และสั่งยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. และยกเลิกเที่ยวบินจีนทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมด
อย่างไรก็ตามเคยมีข่าวลือว่า รายงานสาธารณสุขของทางการเติร์กเมนิสถานไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ขณะที่รัฐบาลยังสั่งแบนคำว่า "โคโรนาไวรัส" ในสื่อโซเชียลมีเดีย แต่ข่าวลือเหล่านี้ไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด
3.หมู่เกาะโซโลมอน (จำนวนประชากร 686,884 คน)
หมู่เกาะโซโลมอน ติดอันดับท้ายๆ ของประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไป แม้ว่าการเดินทางจะสะดวก มีเที่ยวบินตรงจากหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และวานูอาตู โดยนับตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอน ประกาศว่า นักท่องเที่ยวขาเข้าจะต้องมีใบรับรองสุขภาพ และคนที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงจะต้องโดนกักตัวเป็นเวลา 14 วัน
4.วานูอาตู (จำนวนประชากร 307,145 คน)
ประเทศวานูอาตูไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เลย เนื่องจากมีมาตรการป้องกันเข้มงวดตั้งแต่เดือน ก.พ. ซึ่งคนที่เดินทางมาจากประเทศที่มีคนติดเชื้อจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศเลย บางรายที่มาจากประเทศกลุ่มไม่เสี่ยงและมีใบรับรองสุขภาพมาด้วยยังต้องถูกกักตัวนาน 1 เดือน แล้วตรวจให้แน่ใจว่าปลอดเชื้อจริงๆ
5.ซามัว (จำนวนประชากร 198,413 คน)
รัฐบาลซามัวมีคำสั่งใช้มาตรการล็อกดาวน์ และอยู่ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมจนถึงวันนี้ โดยระงับการเดินทางเข้าหรือออกนอกประเทศทั้งหมด
6.คิริบาตี (จำนวนประชากร 119,451 คน)
แม้จะยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ แต่รัฐบาลคิริบาตี ประกาศภาวะฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.จนถึงตอนนี้ ขณะที่โรงเรียนปิดทำการสอนเป็นเวลา 2 สัปดาห์
7.ไมโครนีเซีย (จำนวนประชากร 115,030 คน)
ไมโครนีเซีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการประกาศมาตรการป้องกันโควิด-19 ออกมาใช้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. ห้ามคนที่เดินทางมาจากประเทศจีน หรือผู้ที่ถือหนังสือเดินทางจีนเข้าประเทศ
8.ตองกา (จำนวนประชากร 105,695 คน)
เป็นประเทศที่เรียกได้ว่ามีมาตรการเข้มงวดในการบังคับใช้คำสั่งสกัดกั้นนักเดินทางจากต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศเพื่อนบ้านฟิจิเริ่มรายงานการพบผู้ติดเชื้อรายแรก โดยห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ และส่งกลับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
พอย่างเข้าวันที่ 29 มี.ค. รัฐบาลตองกาประกาศมาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศ หลังพบผู้ต้องสงสัย 8 ราย แต่ผลตรวจออกมาแล้วว่าไม่ติดเชื้อ และเมื่อช่วงกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เริ่มจัดเที่ยวบินไปรับพลเมืองตองกา 60 คนจากฟิจิกลับประเทศ ทุกคนถูกกักตัวอยู่ในโรงแรมเดียวกัน โดยมีตำรวจ ทหาร เฝ้าอย่างหนาแน่น และปิดถนนรอบโรงแรม
9.หมู่เกาะมาร์แชล (จำนวนประชากร 59,190 คน)
เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลหมู่เกาะมาร์แชล สั่งระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ที่ปกติแล้วก็มีอยู่เพียงเที่ยวบินเดียว เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ตรวจหาเชื้อภายในประเทศอย่างละเอียด จนถึงตอนนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อแม้แต่รายเดียว
10.ปาเลา (จำนวนประชากร 18,094 คน)
ก่อนหน้านี้ทางการปาเลา ระบุว่า มีผู้ต้องสงสัย 1 รายเดินทางมาจากประเทศเกาะกวม อาจติดเชื้อโควิด-19 แต่ต่อมายืนยันผลการตรวจพบว่าไม่มีเชื้อ ทำให้จนถึงตอนนี้ยังไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ
11.ตูวาลู (จำนวนประชากร 11,793 คน)
ตูวาลู เป็นประเทศที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวเท่าไรนัก จำนวนประชากรในประเทศก็น้อย และตัวเลขนักท่องเที่ยวต่อปีอยู่ที่เพียงประมาณ 200 รายเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเกิดโรคระบาดร้ายแรงไปทั่วโลก
12.นาอูรู (จำนวนประชากร 10,823 คน)
นาอูรู เป็นประเทศเกาะเล็กๆ ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นรอบเกาะได้โดยใช้เวลาเพียง 1 วันเท่านั้น และจนถึงตอนนี้นาอูรูก็ยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 แม้แต่รายเดียว.
https://www.worldometers.info/coronavirus/?utm_campaign=homeAdUOA?Si%23countries
https://www.aljazeera.com/news/2020/04/countries-reported-coronavirus-cases-200412093314762.html
"อย่างไร" - Google News
August 05, 2020 at 07:15AM
https://ift.tt/2XvgJQl
ทำอย่างไรถึงรอด? ส่อง 12 ประเทศสุดท้ายบนโลกใบนี้ ที่ยังปลอดโควิด-19 - ไทยรัฐ
"อย่างไร" - Google News
https://ift.tt/3ctjMND
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ทำอย่างไรถึงรอด? ส่อง 12 ประเทศสุดท้ายบนโลกใบนี้ ที่ยังปลอดโควิด-19 - ไทยรัฐ"
Post a Comment