Search

ถอดรองเท้าขับรถ อันตรายหรือไม่ มีผลเสียอย่างไรบ้าง - kapook.com

jabaljuba.blogspot.com

การถอดรองเท้าขับรถอาจเป็นสิ่งที่หลายคนถนัด คุ้นเคย และ ขับรถโดยไม่ใส่รองเท้ามาแต่ไหนแต่ไร เรื่องนี้จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร ถอดรองเท้าขับรถเป็นอันตรายหรือไม่ การใส่หรือถอดรองเท้าขับรถ มีความสำคัญต่อความปลอดภัยด้วยหรือ

คงมีผู้ขับรถยนต์หลายคนที่คุ้นเคยกับการถอดรองเท้าขับรถ หรือ ขับรถ โดยไม่ใส่รองเท้า ด้วยเหตุผลว่าสัมผัสเท้าดีกว่าในการควบคุม รถยนต์ ไม่ว่าจะแตะเบรก เหยียบคันเร่ง หรือเลี้ยงครัช ทุกอย่างดูนุ่มนวลเมื่อใช้เท้าเปล่า พอใส่รองเท้าแล้วกลับรู้สึกว่าไม่ถนัด

อย่างไรก็ตาม ความจริงแล้วการถอดรองเท้าขับรถนั้น จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร ถึงขนาดที่จะมีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ แล้วการขับรถโดยใส่กับไม่ใส่รองเท้า แบบไหนเหมาะสมมากกว่ากัน วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบ

ถอดรองเท้าขับรถอันตรายหรือไม่ ?

เชื่อว่าผู้ที่ชอบถอดรองเท้าขับรถหลาย ๆ คนนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะความคุ้นเคยมาตั้งแต่ในช่วงที่เริ่มหัดขับรถ และทำให้รู้สึกถนัดมากกว่า และง่ายกว่าที่จะเบรก และเหยียบคันเร่งเพราะไม่มีรองเท้ามาเป็นสิ่งกีดขวางระหว่างเท้ากับแป้นเหยียบ

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ขับรถด้วยเท้าเปล่าเนื่องจากผู้ขับรถจะต้องออกแรง และเกร็งเท้า ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเจ็บปวด ทำให้เกิดตะคริวหรืออาการกระตุกอื่น ๆ ที่เท้า แถมจะไปลดความสามารถของผู้ขับขี่ และการบังคับรถได้อย่างมีประสิทธิภาพลง

ถอดรองเท้าขับรถ

นอกจากนี้การเหยียบแป้นคันเร่งหรือแป้นเบรกด้วยเท้าที่เปียกถือเป็นอันตรายเนื่องจากอาจลื่นได้ง่าย ๆ เพราะเท้าของคุณอาจไถลออกจากแป้นเหยียบเนื่องจากการยึดเกาะไม่เพียงพอ รวมถึงการใส่ถุงเท้าหรือถุงน่องจะทำให้ลดแรงฉุดระหว่างเท้า และแป้นเหยียบได้

ขณะที่การสวมรองเท้าขับรถ พื้นรองเท้าจะสามารถช่วยกระจายแรงกดอย่างเท่าเทียมสม่ำเสมอกัน ทำให้ควบคุมจังหวะการเหยียบเบรกหรือคันเร่งได้ดีกว่า และเมื่อสวมรองเท้าที่เหมาะสมก็จะสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เท้าได้

นอกจากนี้ยังมีกรณีของเหตุร้ายที่อาจจะไม่ได้เกิดจากการถอดรองเท้าขับรถโดยตรง แต่ในอุบัติเหตุรถยนต์ที่เกิดขึ้นบนท้องถนน หลายกรณีเกิดจากการที่มีสิ่งของโดยเฉพาะรองเท้าของผู้ขับขี่เข้าไปติดหรือขัดอยู่กับแป้นเบรกหรือคันเร่ง 

ดังนั้นการถอดรองเท้าขับรถ ก็ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ผู้ขับขี่จะหลงลืม วางรองเท้าไว้ใต้เบาะของตัวเองแล้วกลายเป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งไม่คาดฝัน ซึ่งคงต้องย้ำไว้ว่า ไม่ว่าจะในกรณีใด ห้ามวางรองเท้าหรือสิ่งของอื่น ๆ ไว้ใต้เบาะที่นั่งหรือที่พักเท้าคนขับโดยเด็ดขาด

นอกจากนี้ทราบหรือไม่ว่าการถอดรองเท้าขับรถ อาจมีผลเสียมากกว่าที่คิด และนี่คือ 4 เรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถอดรองเท้าขับรถ

1. เท้าเหม็น

บางคนคิดว่าอาการเท้าเหม็นเกิดจากใส่ถุงเท้าหนารองเท้าผ้าใบไม่ซัก แต่จริง ๆ แล้ว เท่าเหม็นเกิดจากการสะสมของแบคทีเรีย ยิ่งถอดรองเท้าขับรถแล้วเหงื่อที่เท้าออกมามากจะถือว่าค่อนข้างเสี่ยง เพราะเท้าที่สัมผัสคันเร่งกับเบรคแทบจะตลอดเวลา จะทำให้เท้าด้านแล้วยังสะสมแบคทีเรียเป็นสาเหตุทำให้มีกลิ่นอีกด้วย 

2. เท้าเปียกจนลื่น ทำข้อเท้าพลิก

ข้อนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี อย่างแรกคือ เท้าเปียกเพราะเป็นคนเหงื่อเยอะ อย่างที่สองคือเท้าเปียกเพราะความชื้นเนื่องจากฝนตก ความชื้นจากภายนอกเข้ามาในรถ ซึ่งเมื่อเท้าเปียกจนลื่นอาจทำให้เกิดการเหยียบเบรคเหยียบคันเร่งพลาดได้ โดยเฉพาะจังหวะฉุกเฉินอาจทำให้ข้อเท้าพลิกเลยก็ได้

ถอดรองเท้าขับรถ

3. เกิดการบาดเจ็บ ฝ่าเท้าเป็นพังผืด รองช้ำอักเสบที่ส้นเท้า

ในการขับรถแบบเกียร์ธรรมดา เท้าซ้ายเท้าขวาของเราจะลงน้ำหนักไม่เท่ากัน ส่วนในการขับแบบเกียร์ออโต้ เท้าซ้ายแทบจะไม่ได้ใช้เลย และการออกแรงใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดพังผืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ส้นเท้า ในระยะยาวอาจมีอาการปวดบวมอักเสบ ส่งผลต่อการเดินได้ ใครที่ชอบถอดรองเท้าขับรถแล้วมีอาการปวดส้นเท้าตอนเช้า ๆ และอาการดีขึ้นตอนสาย ๆ อาจจะเป็นสาเหตุมาจากกรณีนี้ 

ถอดรองเท้าขับรถ

4. ผิดกฏหมาย

กฏหมายห้ามใส่รองเท้าแตะหรือการถอดรองเท้าขับรถมีอยู่จริง โดยบังคับใช้กับผู้ขับขี่รถรับจ้าง รถสาธารณะ รวมไปถึงรถแท็กซี่, รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือ รถนำเที่ยว ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้ประกอบอาชีพให้บริการนั่นเอง 

โดย พ.ร.บ. ขนส่งทางบก มาตรา 102(1) และกฎกระทรวง พ.ศ. 2555 ระบุว่า “ในขณะขับรถรับจ้าง รถยนต์สาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยรัดกุม และสวมใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ หากฝ่าฝืนจะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 127”

มาถึงตรงนี้สามารถสรุปได้ว่า การถอดรองเท้าขับรถ นั้นถือว่ามีอันตราย และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงมีผลเสียมากกว่าการใส่รองเท้าขับรถ และแม้ว่าบางคนอาจจะขอยืนยันคำเดิมว่าถอดรองเท้าขับรถยังไงก็ถนัดกว่า ก็คงต้องใส่ใจดูแลสุขภาพเท้าให้ดี และที่สำคัญห้ามวางรองเท้าไว้ที่ใต้เบาะคนขับเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ขอบคุณข้อมูลจาก wheels24.co.zalikely.com

Let's block ads! (Why?)



"อย่างไร" - Google News
September 08, 2020 at 04:23PM
https://ift.tt/3bEhyfK

ถอดรองเท้าขับรถ อันตรายหรือไม่ มีผลเสียอย่างไรบ้าง - kapook.com
"อย่างไร" - Google News
https://ift.tt/3ctjMND


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ถอดรองเท้าขับรถ อันตรายหรือไม่ มีผลเสียอย่างไรบ้าง - kapook.com"

Post a Comment

Powered by Blogger.