Search

"ปิยบุตร" เลคเชอร์! "ชาติ"คืออะไร เกิดและพัฒนามาได้อย่างไร? ในมุมวิชาการ - มติชน

jabaljuba.blogspot.com
“ปิยบุตร” เลคเชอร์! “ชาติ”คืออะไร เกิดและพัฒนามาได้อย่างไร? ในมุมวิชาการ

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม เฟซบุ๊กเพจนายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า อดีตส.ส.และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก เป็นคลิปการบรรยายเรื่องชาติ ในเชิงวิชาการ โดยได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า

ชังชาติ?!? ว่าแต่ “ชาติ” คืออะไร?

[ ชาติ = ประชาชน
ประชาชน = ชาติ
ไม่มีประชาชน ก็ไม่มีชาติ ]

จากคำพูดของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ระหว่างเดินตรวจการแต่งกายชุดพระราชทานของนักเรียน จปร. ว่า “โรคที่เป็นไม่หายคือโรคชังชาติ” รวมทั้งก่อนหน้านี้ในเดีอน ก.พ. 2563 พล.อ.อภิรัชต์ ยังเคยเปรียบว่าสุนัขทหาร “ซีบร้า” คงกลัวที่จะเป็นมนุษย์ หากเห็นโพสต์ข้อความเกลียดชังชาติในโซเชียลมีเดีย

คำว่า #ชังชาติ ที่ ผบ.ทบ. นำมาใช้บ่อยครั้งและกล่าวหาว่าประชาชนคนไทยบางส่วนเป็น #โรคชังชาติ แท้จริงแล้วความหมายของคำว่า #ชาติ ในที่นี้คืออะไรกันแน่?

ชวนมาย้อนฟังการบรรยายพิเศษ ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล “แผ่นดินของเราในมุมมองประชาธิปไตย : บทบาทของประชาชนในการสร้างชาติ” (12 ต.ค. 2562) ซึ่งเป็นการบรรยายตอบโต้ พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ที่บรรยายในหัวข้อ “แผ่นดินของเราในมุมมองด้านความมั่นคง” เพียง 1 วันก่อนหน้า

ปิยบุตร บรรยายตอนหนึ่งว่า คำว่า ชาติ หรือ Nation มีที่มาจากภาษาลาติน แปลว่า เกิด คำในภาษาไทยจึงล้อมาจากคำว่า ชาตะ ที่แปลว่า เกิด

คำว่า ชาติ มาตุภูมิ ปิตุภูมิ หรือ #แผ่นดินของเรา ก็ดี คือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา เพื่อต้องการสร้างจินตนาการร่วมกันของคนในชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยพิจารณาจาก ชาติกำเนิด ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีปฏิบัติ ทั้งหมดทั้งหลายนำมาร้อยรัดร่วมกัน และสร้างขึ้นมาให้ร่วมกันเป็นชาติ

ดังนั้นชาติจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญในการหลอมรวมเอาคนทั้งหลายมาไว้ด้วยกัน ชาติจึงคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอันยิ่งใหญ่ ก่อเกิดจากจิตสำนึกร่วมกัน

การสร้างชาติ จึงต้องพูดถึงอดีตว่าเราผ่านการเสียสละมาร่วมกัน และเราจะเสียสละร่วมกันต่อไปอีกในอนาคต

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อพูดถึง “ชาติ” ก็ต้องพูดถึง “คนที่อยู่ในชาติ” ซึ่งคนเหล่านี้อยู่กับปัจจุบัน แต่จะทำอย่างไรให้คนที่อยู่กับปัจจุบัน คิดถึงอดีต และฝันถึงอนาคตร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่ในปัจจุบันด้วย

คำว่า “ชาติ” เกิดขึ้นเพราะคนยุคหลังเขียนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมต้องการสร้างชาติ จึงเขียนประวัติศาสตร์ย้อนหลัง เพื่อบอกว่า สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา รัตนโกสินทร์ เป็นชาติไทยมานานแล้ว ทั้งที่หากย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนสมัยนั้นก็ไม่ได้คิดว่าชาติไทยเกิดมาตั้งแต่ตอนนั้น

รูปธรรมที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่นประวัติศาสตร์สกุลแบบกรมพระยาดำรงเดชานุภาพหรือประวัติศาสตร์สกุลอื่นๆ ที่ถูกเขียนขึ้น ซึ่งนักประวัติศาสตร์เห็นร่วมกันว่าจิตสำนึกของคำว่า “ชาติ” เพิ่งมาเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 6 แต่เราคิดว่าชาติไทยมีมาตั้งแต่สมัยก่อน เพราะคนในยุคปัจจุบันต้องการสร้างอดีตร่วมกัน เพื่อสร้างชาติ การเขียนประวัติศาสตร์จึงเขียนในลักษณะร้อยเรียงถึงความเสียสละเพื่อปกป้องชาติ

คำถามต่อมาคือจะทำอย่างไรให้คนในยุคปัจจุบันเชื่อมั่นในอดีตร่วมกัน และฝันถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงร่วมกัน ดังนั้นก็ต้องสร้างปัจจุบัน

ความสมัยใหม่ในเรื่องการเมืองการปกครองจะเกิดขึ้นได้ก็คือ Secularization of State คือ การถอดรื้อความศักดิ์สิทธิ์ออกไปจากผู้ทรงอำนาจสูงสุด แล้วสร้างหน่วยใหม่ให้กลายเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในแต่ละรัฐนั่นก็คือประชาชน

ประชาชนคือคนทุกคน ไม่รู้กี่ร้อยล้านมาร่วมกันเป็น Unit เดียว เพื่อจะได้ใช้อำนาจได้ นี่คือการถือกำเนิดขึ้นมาของประชาชน

หากเราต้องการให้คนในชาติเกิดจิตสำนึกร่วมกัน เราต้องจับข้อเท็จจริงร่วมกันในปัจจุบันให้ได้ เพื่อหวนไปหาอดีต และมองถึงอนาคตร่วมกันให้ได้ จึงจำเป็นต้องสร้าง “ประชาชน” เพื่อให้ประชาชนมาสร้างชาติ

เมื่อประชาชนเป็นผู้สร้างชาติ คนในชาติที่รวมตัวกันในชื่อประชาชนก็จะเกิดจิตสำนึกร่วมกัน เห็นอกเห็นใจซม เคารพ เสียสละซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างชาติ

ชาติ = ประชาชน
ประชาชน = ชาติ
ไม่มีประชาชนก็ไม่มีชาติ

ถ้าประชาชนไม่รวมตัวกันติดขึ้นมา ไม่มีจิตสำนึกร่วมกัน ก็ไม่มีวันสร้างชาติได้ ดังนั้นประชาชนและชาติในยุคปัจจุบันจึงเปรียบเสมือนสองด้านของเหรียญเดียวกัน ขาดอะไรไปอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เป็นหน่อเนื้อทุกอนุร่วมกัน

ปัจจุบันเป็นเรื่องล้าสมัยแล้วที่จะสร้างชาติด้วยการยึดโยงกับ สีผิว เชื้อชาติ สาสนา ภาษา วัฒนธรรม เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการเคลื่อนไหวของประชากรอยู่ตลอดเวลา โลกไร้พรมแดนมากขึ้น ดังนั้นการสร้างชาติโดยยึดโยงกับ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม อย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป ต้องอาศัยคุณค่าพื้นฐานร่วมกันใหม่ๆ

คุณค่าที่ว่านี้ได้แก่

1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2. สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค
3. การพึ่งพาอาศัยกันฉันมิตรระหว่างเพื่อนร่วมชาติ
4. เคารพความแตกต่างหลากหลาย

ทั้งหมดนี้เป็นคุณค่าร่วมสมัยในยุคปัจจุบันที่หากประชาชนเชื่อมั่นในคุณค่าพื้นฐานเหล่านี้ได้ ยึดโยงกันด้วยเรื่องเหล่านี้ได้ เราจะสร้างชาติแบบสากลที่ทันยุคทันสมัยได้

หากเราทำได้สำเร็จ เราจะเกิดชาติ จะเกิดแผ่นดินของเรา ซึ่งจะเป็นแผ่นดินของเรา ของคนไทยทุกๆ คน

เมื่อชาติเท่ากับประชาชน ความมั่นคงของชาติและของประเทศก็คือความมั่นคงของประชาชน

นั่นคือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงในชีวิต ความมั่นคงในทางสิทธิและเสรีภาพ และความมั่นคงในทางการศึกษา

ดังนั้นแผ่นดินของเราในมุมมองประชาธิปไตย ในมุมมองของโลกสมัยใหม่

ความหมายที่แท้จริงของมันคือแผ่นดินที่คนไทยทุกคนร่วมกันปกปักษ์รักษาและหวงแหน

จะต้องเป็นแผ่นดินหรือชาติของคนไทยทุกคน จะต้องเป็นแผ่นดินหรือชาติที่คนไทยทุกคนเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค คนทุกคนพึ่งพาอาศัยกันฉันมิตรระหว่างเพื่อนร่วมชาติ และเคารพความแตกต่างหลากหลาย

และรัฐบาลมีหน้าที่สร้างความมั่นคงให้กับประชาชน ทั้งในทางเศรษฐกิจ ชีวิต สิทธิและเสรีภาพ และการศึกษา

Let's block ads! (Why?)



"อย่างไร" - Google News
August 06, 2020 at 03:17PM
https://ift.tt/30vvzrS

"ปิยบุตร" เลคเชอร์! "ชาติ"คืออะไร เกิดและพัฒนามาได้อย่างไร? ในมุมวิชาการ - มติชน
"อย่างไร" - Google News
https://ift.tt/3ctjMND


Bagikan Berita Ini

0 Response to ""ปิยบุตร" เลคเชอร์! "ชาติ"คืออะไร เกิดและพัฒนามาได้อย่างไร? ในมุมวิชาการ - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.