Search

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ซื้อดีไหม ทำเอาไว้ ดีอย่างไร? - ไทยรัฐ

jabaljuba.blogspot.com

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุมีรายละเอียดที่ต้องศึกษามากกว่าการทำประกันของวัยอื่นๆ เนื่องจากการรับประกันภัยของแต่ละบริษัทอาจจะปฏิเสธผู้เอาประกันภัยที่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อน แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีแผนประกันที่บอกว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ดังนั้น ในฐานะผู้บริโภค จะต้องทราบความคุ้มครองต่างๆ ให้ละเอียด

วันนี้ไทยรัฐออนไลน์สรุปเงื่อนไขประกันสุขภาพผู้สูงอายุคร่าวๆ มาให้ศึกษาไปพร้อมๆ กัน

ประกันสุขภาพ คุ้มครองอะไรบ้าง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้คำจำกัดความของการประกันสุขภาพไว้ว่า “เป็นการประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงจะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้น จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย” โดยรวมค่าใช้จ่าย 7 อย่าง ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ได้แก่ ค่าห้องและค่าอาหาร, ค่าบริการทั่วไป และค่าใช้จ่ายกรณีเข้ารักษาฉุกเฉิน
2. ค่าใช้จ่ายจากการผ่าตัด อาทิ ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
3. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล (ค่าแพทย์เข้าเยี่ยม)
4. ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)
5. ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
6. ค่าใช้จ่ายจากการรักษาฟัน
7. การชดเชยค่าใช้จ่าย เช่น ชดเชยรายได้รายวัน


ดังนั้น หากคุณมองหาประกันสุขภาพผู้สูงอายุ มักจะหมายถึง ประกันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ

แต่แผนประกันสำหรับผู้สูงวัยในปัจจุบัน ที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้สมัครขอเอาประกันภัย มักจะคุ้มครองดังนี้

  • ชดเชยรายได้รายวัน เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล
  • รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับทุนประกันที่จ่าย

สรุปได้ว่า การทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุ แบบหวังผลให้ช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องแอดมิตเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอก จะต้องทำในช่วงอายุไม่เกิน 60-70 ปี และต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยมีประวัติโรคประจำตัวหรือโรคร้ายแรง แต่หากเป็นแผนประกันที่ให้ชดเชยรายได้รายวันอย่างเดียว อาจจะไม่เรียกว่า “ประกันสุขภาพ” ได้ แต่เป็นประกันชีวิตพ่วงสัญญาแนบท้าย เพียงแค่รับเงินชดเชยรายได้รายวันมาจ่ายเป็นค่ารักษาเท่านั้น

เพราะฉะนั้นหากต้องการทำประกันเพื่อให้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้ครบถ้วน จะต้องรีบทำก่อนตรวจเจอโรคประจำตัว


ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป มีแผนความคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันชีวิตสูงวัย ได้เกินร้อย (เพื่อผู้สูงอายุ) - อลิอันซ์

เป็นแผนประกันชีวิตที่พ่วงสัญญาเพิ่มเติมเป็นประกันสุขภาพได้ความคุ้มครองถึงอายุ 90 ปี และเบี้ยประกันใช้ลดหย่อนภาษีตามชื่อผู้เอาประกันได้เท่านั้น

ประกันชีวิต 50 อัพ (เพื่อผู้สูงอายุ) - AIA

เป็นแผนประกันภัยที่ไม่ใช่ประกันสุขภาพโดยตรง แต่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 50,000 - 300,000 บาท กรณีอยู่ครบสัญญาได้เงินคืน 150%

เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) - เมืองไทยประกันชีวิต

จ่ายความคุ้มครองชดเชยรายได้รายวันเมื่อนอนโรงพยาบาล ทั้งห้องธรรมดาและห้อง ICU รวมถึงค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

มรดกเพิ่มพูน (เพื่อผู้สูงอายุ) - ไทยประกันชีวิต

อยู่ครบสัญญาได้เงินคืน คุ้มครองชีวิตจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุสูงสุด 450,000 บาท


และส่วนประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 70-80 ปีขึ้นไป หากไม่ได้ทำแผนประกันชีวิตหลักเพื่อต่ออายุสัญญาแนบท้ายเป็นประกันสุขภาพแล้ว มีทางเลือกทำประกันคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไม่คาดคิด คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือที่รู้จักในชื่อ ประกัน PA ซึ่งให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงได้รับการชดเชยรายได้รายวันระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย

แต่หากเป็นกรณีลูกซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ เพื่อลดหย่อนภาษีด้วย จะต้องสอบถามกับทางตัวแทนว่าแผนที่คุณเลือกนี้ ใช้ลดหย่อนภาษีได้เฉพาะผู้ที่มีชื่อเป็นผู้เอาประกันภัย หรือใช้ลดหย่อนในนามของบุตรที่เป็นผู้ชำระเบี้ยได้ เพื่อใช้ยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี จะได้ไม่พลาดขอคืนภาษีปีต่อปีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "ประกันสุขภาพ"

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"อย่างไร" - Google News
August 03, 2020 at 01:35PM
https://ift.tt/33lk1JC

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ซื้อดีไหม ทำเอาไว้ ดีอย่างไร? - ไทยรัฐ
"อย่างไร" - Google News
https://ift.tt/3ctjMND


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ซื้อดีไหม ทำเอาไว้ ดีอย่างไร? - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.