ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออนไลน์กับลูกหลานเยาวชน ถึงเรื่องเรียนออนไลน์อย่างไรให้สนุกเกิดผลสัมฤทธิ์ในช่วงหนึ่งของชีวิต
ส.ว. ม.ล.ปนัดดา สรุปประเด็นการเรียนออนไลน์เป็นข้อๆรวม 8 ข้อดังนี้
1.แรงบันดาลใจจากบุพการีอันจะก่อให้เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจของลูกหลาน นักเรียนมีความสำคัญเป็นอันดับแรกก่อนเรื่องอื่นๆ
2.ส่วนราชการทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน กรุณาให้ความเมตตาอารีกับลูกหลานด้วย ช่วยสำรวจตรวจตราอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการเรียนออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการเรียนในชั่วขณะหนึ่งของการเกิดโคโรนาไวรัสระบาด เมื่อเหตุการณ์พัฒนาไปสู่ความปลอดภัยต่อชีวิตเราทุกคนแล้ว เมื่อนั้นลูกหลานจะได้นำฐานความรู้จากการเรียนออนไลน์ไปถกแถลงต่อที่โรงเรียน พบอาจารย์ใหญ่ ครูอาจารย์ เพื่อนนักเรียน รุ่นพี่-รุ่นน้อง เล่นพลศึกษา เหมือนดั่งเคย
3.เนื้อหาสาระการเรียนแบบออนไลน์มีความเหมาะสม การเรียนรู้ต้องชวนติดตาม ครูอาจารย์ วิทยากร คงต้องทุ่มเทความเพียรพยายามขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ยกตัวอย่างต่างๆที่มีชีวิตประกอบการเรียนการสอน แม้เหน็ดเหนื่อยเพียงใดจำต้องทน ขอให้ทุกท่านนึกถึงอนาคตของชาติ นึกถึงปัญหาชีวิตที่ทุกคนบนโลกใบนี้จำต้องเผชิญในเวลานี้
4.ครูผู้มีความเข้าใจวิธีการเรียนการสอนออนไลน์ต้องช่วยจัดระบบระเบียบให้มีมาตรฐานโดยเท่าเทียม ท่านจะได้ใช้วิทยายุทธทั้งหลายทั้งปวงจากเมื่อครั้งท่านเองเป็นนิสิตนักศึกษากันคราวนี้บทเรียนต้องมีความกระชับ ไม่สั้นไม่ยาว เข้าใจง่าย อย่าใช้ภาษาฟุ่มเฟือย อย่าพูดไทยคำฝรั่งคำ นอกจากเป็นศัพท์เทคนิคจริงๆ แล้วแปลให้เกิดความชัดเจน สนุกกับการทำหน้าที่พิเศษนี้ และแบ่งปันความรู้ทางด้านเทคนิคให้กับครูผู้สอนอื่นๆ ผู้ต้องปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับท่าน อาจต้องมีการติเพื่อก่อ
5.วิทยากรแต่งกายสุภาพ ชวนมอง ชวนชม สบายตา สบายใจ คิดเสมือนว่าลูกหลานทุกคนอยู่ด้วยกันกับครูในห้องถ่ายทอดระบบออนไลน์-ออนแอร์ ณ เวลานั้น
6.ที่บ้านมีผู้ใหญ่ ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่ พอมีเวลา และยิ่งหากมีความสามารถใช้อุปกรณ์โปรดให้ความเมตตาอยู่กับลูกหลานให้กำลังใจเหมือนกับแนวคิด “Home School” ซึ่งเป็นชั่วเวลาขณะหนึ่งเท่านั้นในชีวิต อาจจะไม่มีอีกแล้ว ครั้งหนึ่งในชีวิตที่คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย จะได้และเห็นลูกหลานเรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งอีกไม่นานเมื่อลูกหลานกลับคืนสู่ระบบปกติที่สถานศึกษา ท่านจะมีความคิดถึงมาก เขาทุกคนจะเจริญเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
7.หนึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งของทุกวันควรสอดแทรกวิชาจริยศาสตร์เป็นกลุ่มวิชาที่จะให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตคดโกง นิยามความหมายของคำว่าความผิดกับความชั่วนั้นไม่เหมือนกัน ตัวอย่างอันเป็นกรณีศึกษาจากอดีตและปัจจุบันผสานกับเรื่อง “Current News” ที่ลูกหลานจะได้รับทั้งความรู้และประสบการณ์ชีวิต
8.แนวคิดประการสำคัญยิ่งต่อสถานศึกษา ส่วนราชการรับผิดชอบในพื้นที่หากลูกหลานนักเรียนไม่มีเครื่องรับสัญญาณ เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เป็นต้น การเรียนรู้ออนไลน์ย่อมจะไม่สามารถเกิดเป็นจริงขึ้นได้ สถานศึกษาต้องช่วยกันขบคิดนอกกรอบว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรในช่วงเวลาอันไม่ยาวนานนี้ ความเสียสละ ความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกหลานและแวดวงการศึกษาที่จะถือเป็นน้ำใจไมตรีจิตและความเมตตากรุณาแก่ลูกหลานเยาวชนสืบไป
นี่คือความห่วงใยของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ตั้งประเด็นเพื่อความสำเร็จของลูกหลานไทย.
“ซี.12”
อ่านเพิ่มเติม...
"อย่างไร" - Google News
June 03, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2XYA8c1
มุมข้าราชการ : เรียนออนไลน์อย่างไรให้สนุก - ไทยรัฐ
"อย่างไร" - Google News
https://ift.tt/3ctjMND
Bagikan Berita Ini
0 Response to "มุมข้าราชการ : เรียนออนไลน์อย่างไรให้สนุก - ไทยรัฐ"
Post a Comment